บทที่ 1 คลื่นกล


บทที่ 1 คลื่นกล



คลื่นกล (Mechanical Wave )

           คลื่นกล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลือนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้  ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลางเพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล  
ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
          คำว่าคลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป  
ในบทนี้จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคลื่นในทางฟิสิกส์

ชนิดของคลื่น
การแบ่งชนิดของคลื่นวิธีที่ 1 แบ่งโดยอาศัยทิศทางของพลังงานกับทิศการสั่นอนุภาค จะแบ่งคลื่นได้ 2 ชนิด คือ
1) คลื่นตามขวาง (longitudinal wave) คือ คลื่นซึ่งมีทิศการถ่ายทอดพลังงานตั้งฉากกับทิศของการสั่นอนุภาค เช่นคลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

2) คลื่นตามยาว (transverse wave) คือคลื่นที่มีทิศการถ่ายทอดพลังงานขนาน กับทิศการสั่นของอนุภาค เช่น คลื่นในลูกแก้ว เป็นต้น


การแบ่งชนิดของคลื่นวิธีที่ 2 แบ่งโดยอาศัยลักษณะการถ่ายทอดพลังงาน จะแบ่งคลื่นได้ 2 ชนิด คือ

1) คลื่นกล (mechanical wave) คือคลื่นที่ต้องอาศัยอนุภาคตัวกลางจึงถ่ายทอดพลังงานได้ เช่นคลื่นในเส้นเชือก คลื่นในลูกแก้ว เป็นต้น



2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คือคลื่นที่ไม่ต้องอาศัยอนุภาคตัวกลาง ก็สามารถถ่ายทอดพลัง งานได้ ซึ่งได้แก่ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต คลื่นแสง รังสีอินฟาเรด คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ ไฟฟ้ากระแสสลับ


 สมบัติของคลื่น


1.การสะท้อนของคลื่นจะเกิดเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวางแล้วเปลี่ยนทิศทาง            กลับสู่ตัวกลางเดิม



สิ่งที่ควรรู้  ความถี่ ความยาวคลื่น และอัตราเร็วของคลื่นสะท้อน จะมีค่าเท่ากับความถี่่    ความยาวคลื่น  และอัตราเร็วของคลื่นตกกระทบเสมอ


2.การหักเห คือ การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่ง(บริเวณหนึ่ง) ไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง(อีกบริเวณหนึ่ง) แล้วทำให้อัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยนไป (λ เปลี่ยนไปด้วย แต่  f คงที่)  โดยที่คลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า  คลื่นหักเห


สิ่งที่ควรรู้

        1.เมื่อคลื่นเคลื่อนที่มาถึงรอยต่อระหว่างน้ำลึกและน้ำตื้น จะมีคลื่นเคลื่อนที่หักเหผ่านรอยต่อไป และจะมีคลื่นส่วนหนึ่งเกิดการสะท้อนเข้าไปสู่ตัวกลางเดิม โดยคลื่นสะท้อนนั้นจะมีแอมพลิจูดลดลง

       2.สมบัติการหักเหของคลื่น  จะทำให้ V และ λ  เปลี่ยนไป  แต่ทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะเปลี่ยนไปหรือคงเดิมก็ได้

   -ถ้าทิศของคลื่นตกกระทบตั้งฉากกับรอยต่อหรือหน้าคลื่นตกกระทบขนานกับรอยต่อระหว่างตัวกลาง ทิศของคลื่นที่หักเหผ่านไปในอีกตัวกลางหนึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง



     -ถ้าทิศของคลื่นตกกระทบทำมุมกับรอยต่อหรือหน้าคลื่นตกกระทบทำมุมกับรอยต่อระหว่างตัวกลาง ทิศของคลื่นที่หักเหผ่านไปในอีกตัวกลางหนึ่งจะปลี่ยนแปลงไปจากเดิม


    3.จากกฎของสเนลล์ถ้ามุมตกกระทบมากกว่าศูนย์
ในน้ำลึก  คลื่นจะมีความเร็วมาก   ความยาวคลื่นมาก  มุมตกกระทบหรือมุมหักเหจะมาก
ในน้ำตื้น  คลื่นจะมีความเร็วน้อย  ความยาวคลื่นน้อย มุมตกกระทบหรือมุกหักเหจะน้อย


3.การแทรกสอด เมื่อทำการทดลองโดยให้มีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและมีเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน  จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องทั้งสองขบวนนั้น เกิดเป็นแนวมืดและแนวสว่างสลับกัน  เรียกว่า  ลวดลายการแทรกสอด(Interference pattern) ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจาก
การแทรกสอดของคลื่น



-การแทรกสอดแบบเสริมกัน  เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน  หรือท้องคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน (เฟสตรงกันมาพบกัน)  คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีสันคลื่นสูงกว่าเดิม  และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม  และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า  ปฏิบัพ(Anti node, A) ของการแทรกสอด โดยตำแหน่งนั้นผิวน้ำจะนูนมากที่สุดหรือเว้าลงไปมากที่สุด




  -การแทรกสอดแบบหักล้าง  เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของอีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง (เฟสตรงกันข้ามมาพบกัน) คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม  และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ (Node,N) องการแทรกสอด โดยตำแหน่งนั้นน้ำจะไม่กระเพื่อมเลย  หรือกระเพื่อมน้อยที่สุด




4.การเลี้ยวเบน ถ้ามีสิ่งกีดขวางกั้นการเคลื่อนที่ของคลื่นเพียงบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น  การที่มีคลื่นปรากฏอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนองทิศทางเดิมของคลื่นเรียกว่า  การเลี้ยวเบนของคลื่น



สิ่งที่ควรรู้

1. การเลี้ยวเบนของคลื่นยังคงมีความยาวคลื่น  ความถี่  และอัตราเร็วเท่าเดิม2. เมื่อความถี่ของคลื่นน้ำต่ำหรือความยาวคลื่นมาก  คลื่นจะอ้อมสิ่งกีดขวางไปได้ไกลกว่าเมื่อใช้ความถี่สูง3. แอมพลิจูดของคลื่นที่เลี้ยวเบนไปจะลดลง





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น